วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ประโยคในภาษาไทย
ความหมายของประโยค
ไวยากรณ์ดั้งเดิม

ประโยค คือ กลุ่มคำที่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นระเบียบและมีเนื้อความครบบริบูรณ์โดยจะต้องมีบทประธานและบทกริยาเป็นสำคัญ
ภาษาศาสตร์
ประโยค คือ หน่วยทางภาษาที่เน้นในเรื่องความเข้าใจของผู้ฟังเป็นสำคัญ จึงไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดงเสมอไป
การแบ่งชนิดของประโยคมีหลายเกณฑ์
ในรายวิชานี้แบ่งเป็น๒ ลักษณะ ได้แก่

  1. การแบ่งชนิดของประโยคตามเนื้อความ
  2. การแบ่งชนิดของประโยคตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาร
ชนิดของประโยคแบ่งตามเนื้อความ
ประโยคแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ

  1. ประโยคความเดียว
  2. ประโยคความรวม
  3. ประโยคความซ้อน
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่เสนอเนื้อหาสาระเพียงประการเดียว
ประโยคคความรวม คือ ประโยคทีเสนอสาระตั้งแต่สองเนื้อหาขึ้นไป เกิดจากประโยคความเดี่ยวตั้งแตสองประดยคขึ้นไปมารวมกันมีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม ประโยคความรวมแบ่งได้ ๔ ชนิด

  1. เนื้อความคล้อยตามกัน
  2. เนื้อความขัดแย้งกัน
  3. เนื้อความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
  4. เนื้อความเป็นเหตุเป็นผล
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีเนื้อความตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไป โดยประโยคความหลัก ที่ผู้ส่งสารรับทราบ ส่วนอีกประโยคหนึ่งเป็นประโยคย่อย มีเนื้อหาขยายหรือเสริมเนื้อหาของประโยคหลักให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งตามลักษณะการขยายในประโยคหลักได้ ๒ ลักษณะ ดังนี้

  1. คุณานุประโยค
  2. วิเศษณานุประโยค
  3. นามานุประโยค

อาจารย์ วรรณนิสา ปานพรม


การเขียนคำ
        ระบบการเขียนภาษาไทย เป็นระบบที่ใช้   ตัวอักษรแทนเสียง ๓ประเภท คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์มาประกอบเป็นพยางค์และคำ ในการเขียนคำให้ถูกต้องจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการใช้สระ พยัญชนะ และวรรยุกต์ ตลอดจนการเขียนคำในลักษณะพิเศษต่างๆ เช่น การเขียนชื่อเฉพาะ การเขียนราชทินนาม การเขียนคำยืมจากต่างประเทศ การเขียนอัการย่อ ร่วมทั้งการเขียนชื่อเมืองชื่อประเทส และการใช้เครื่องหมายประกอบคำ
การใช้สระ
การเขียนคำทีประวิสรรชนีย์
          ประวิสรรชนีย์ คือ คำที่นำพยัญชนะมาประสมสระอะและคงรูปสระอะไว้หลังพยัญชนะ เวลาออกเสียงจะอ่านออกเสียงอะเต็มเสียง มี๔ ลักษณะ ดังนี้

  1. คำยืมจากภาษาบาลี- สันสกฤต
  2. คำที่มีสองพยางค์ขึ้นไป
  3. คำที่ออกเเสียง อะ เต็มพยางค์ต้องประวิสรรชนีย์
  4. คำที่มาจากภาษาจีน ภาษาเขมร ภาษามลายู ภาษาพม่า ภาษาญี่ปุ่น
อาจารย์ วรรรนิสา ปานพรม