วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ประโยคในภาษาไทย
ความหมายของประโยค
ไวยากรณ์ดั้งเดิม

ประโยค คือ กลุ่มคำที่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นระเบียบและมีเนื้อความครบบริบูรณ์โดยจะต้องมีบทประธานและบทกริยาเป็นสำคัญ
ภาษาศาสตร์
ประโยค คือ หน่วยทางภาษาที่เน้นในเรื่องความเข้าใจของผู้ฟังเป็นสำคัญ จึงไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดงเสมอไป
การแบ่งชนิดของประโยคมีหลายเกณฑ์
ในรายวิชานี้แบ่งเป็น๒ ลักษณะ ได้แก่

  1. การแบ่งชนิดของประโยคตามเนื้อความ
  2. การแบ่งชนิดของประโยคตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาร
ชนิดของประโยคแบ่งตามเนื้อความ
ประโยคแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ

  1. ประโยคความเดียว
  2. ประโยคความรวม
  3. ประโยคความซ้อน
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่เสนอเนื้อหาสาระเพียงประการเดียว
ประโยคคความรวม คือ ประโยคทีเสนอสาระตั้งแต่สองเนื้อหาขึ้นไป เกิดจากประโยคความเดี่ยวตั้งแตสองประดยคขึ้นไปมารวมกันมีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม ประโยคความรวมแบ่งได้ ๔ ชนิด

  1. เนื้อความคล้อยตามกัน
  2. เนื้อความขัดแย้งกัน
  3. เนื้อความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
  4. เนื้อความเป็นเหตุเป็นผล
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีเนื้อความตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไป โดยประโยคความหลัก ที่ผู้ส่งสารรับทราบ ส่วนอีกประโยคหนึ่งเป็นประโยคย่อย มีเนื้อหาขยายหรือเสริมเนื้อหาของประโยคหลักให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งตามลักษณะการขยายในประโยคหลักได้ ๒ ลักษณะ ดังนี้

  1. คุณานุประโยค
  2. วิเศษณานุประโยค
  3. นามานุประโยค

อาจารย์ วรรณนิสา ปานพรม


การเขียนคำ
        ระบบการเขียนภาษาไทย เป็นระบบที่ใช้   ตัวอักษรแทนเสียง ๓ประเภท คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์มาประกอบเป็นพยางค์และคำ ในการเขียนคำให้ถูกต้องจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการใช้สระ พยัญชนะ และวรรยุกต์ ตลอดจนการเขียนคำในลักษณะพิเศษต่างๆ เช่น การเขียนชื่อเฉพาะ การเขียนราชทินนาม การเขียนคำยืมจากต่างประเทศ การเขียนอัการย่อ ร่วมทั้งการเขียนชื่อเมืองชื่อประเทส และการใช้เครื่องหมายประกอบคำ
การใช้สระ
การเขียนคำทีประวิสรรชนีย์
          ประวิสรรชนีย์ คือ คำที่นำพยัญชนะมาประสมสระอะและคงรูปสระอะไว้หลังพยัญชนะ เวลาออกเสียงจะอ่านออกเสียงอะเต็มเสียง มี๔ ลักษณะ ดังนี้

  1. คำยืมจากภาษาบาลี- สันสกฤต
  2. คำที่มีสองพยางค์ขึ้นไป
  3. คำที่ออกเเสียง อะ เต็มพยางค์ต้องประวิสรรชนีย์
  4. คำที่มาจากภาษาจีน ภาษาเขมร ภาษามลายู ภาษาพม่า ภาษาญี่ปุ่น
อาจารย์ วรรรนิสา ปานพรม

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การใช้สระ ไอไม้มลาย

     ไม้มลายใช้ไทยแท้               เช่นไหนแน่และเมื่อไร
ไฟไหม้ไปกี่ไพ                           เธอเห็นไหมว่องไววจัง
      ต่างประเทศทุกเขตรัฐ          ใช้เคร่งครัดพึงระวัง
ไต้ก๋งส่งเสียงดัง                        ไต้ฝุ่นพังวัดวังจีน
       เรไรเจียระไน                       แทงวิไส ลันไต ปีน
พะไล ใครถือศีล                         คือชวามลายู
       เขมร เช่นสไบ                     ดวงไถงไผทดู
บาลีสกฤตอยู่                             ไมตรีคู่สู้ไพรินทร์
       อังกฤษประดิษฐ์ไมล์             หนทางไกลไยเล่นลิ้น
ควรจำคำทมิฬ                            คือวิไล กะไหล่ เอ่ย

บรรณานุกรม วิเชียร เกษประทุม. ภาษาไทยมักใช้ผิด กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.2547

คำลหุ กับ คำครุ

คำลหุ
           คือคำหรือพยางค์ที่มีเสียงเบา เนื่องจากมีสระเสียงสั้นไม่นับรวมสระอำ ไอ ใอ เอา และไม่มีตัวสะกด คำลหุส่วนมากเป็นศัพท์ที่ใช้อธิบายฉันทลักษณ์ประเภทฉันท์

ลักษณะของคำลหุ

1) คำลหุชนิดคำพยางค์เดียว เช่น ดุ และ โปะ เกาะ พระ
2) คำลหุในคำหลายพยางค์ เช่น มุทะลุ ระยะ กะทิ วิ(ชา)


คำครุ
         คือ คำหรือพยางค์ที่มีเสียงหนัก เนื่องจากมีสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด รวมทั้งคำทีมีเสียงสระเกิน อำ ไอ ใอ เอา ถ้ามีตัวสระกดคำหรือพยางค์นั้นๆอาจมีสระเสียงสั้นหรือสระเสียงยาวก็ได้ คำครุเป็นศัพท์
ที่ใช้คู่กับคำลหุในการอธิบายฉันท์ลักษณ์ประเภทฉันท์

ลักษณะของคำครุ

1) คำครุชนิดคำพยางค์เดียว เช่น ใน น้ำ มี ปลา หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก
2) คำครุในคำหลายพยางค์ เช่น เวลา วารี ดีใจ ใยดี วัยเยาว์ หมายเหตุ คำในภาษาไทยบางคำเช่น คำว่า นมัสการ อาจออกเสียงได้2 แบบ คือ
1) นะ มะ สะ กาน
2) นะ มัส สะ กาน

บรรณานุกรม สุนันท์ อัญชลีนุกูล.ระบบคำภาษาไทย.(พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์  
               จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2547

การใช้สระใอ ไม้ม้วน

คำที่ใช้สระใอไม้ม้วน มีเพียง 20 คำ ซึ่งอาจจะจดโดยการท่องร้อยกรองต่อไปนี้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
             หลงใหลมิใช่ใบ้     ใฝ่ใจ
      ใครใคร่ในน้ำใส            โปรดใช้
      ผู้ใดใหญ่ใกล้ใบ             บัวต่ำ ใต้แฮ
      ใบใหม่ใสจานให้            สะใภ้พึงจำ

บรรณานุกรม  วิเชียร เกษประทุม. ภาษาไทยใช้ผิด กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.2547